ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี
   1.ประเภทของสารเคมี
      เนื่องจากสารเคมีมีสมบัติแตกต่างกันจึงต้องมีฉลากซึ่งแสดงข้อมูลต่างๆของสารเคมี โดยฉลากของสารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการควรมีข้อมูลดังนี้
      1.ชื่อผลิตภัณฑ์
      2.รูปสัญลักษณ์ แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี
      3.คำเตือน ข้อมูลความเป็นอันตราย และข้อควรระวัง
      4.ข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
      สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมีหลายระบบ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง 2 ระบบ ได้แก่
      1.The Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals(GHS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย จะแสดงสัญลักษณ์ในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดง พื้นสีขาว
      2.National Fire Protection Association(NFPA) เป็นระบบที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งสีแดงแทนความไวไฟ สีน้ำเงินแทนความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ สีเหลืองแทนความว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมี โดยใส่ตัวเลข 0-4 เพื่อระบุความเป็นอันตรายจากน้อยไปมาก และช่องสีขาวแสดงสมบัติที่เป็นอันตรายในด้านอื่นๆ โดย ALK แทนอัลคาไลน์(เบส) ACID แทนกรด COR แทนกัดกร่อน OXY แทนสารออกซิไดซ์ Radiation warning symbol2.svg แทนกัมมันตรังสี W แทนทำปฏิกิริยากับน้ำ
      นอกจากฉลากและสัญลักษณ์แล้ว สารเคมีทุกชนิดต้องมีเอกสารความปลอดภัย(safety sata sheet, SDS) ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้สารเคมีอย่างละเอียด
   
   2.ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี
   ก่อนทำปฏิบัติการ
      1.ศึกษาวิธีการทดลองให้เข้าใจ วางแผนการทดลอง
      2.ศึกษาข้อมูลของสารเคมี การใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ วิธีการทดลองที่ถูกต้องและปลอดภัย
      3.แต่งกายให้เหมาะสม
  
   ขณะทำปฏิบัติการ
   1)ข้อปฏิบัติโดยทั่วไป
      1.สวมแว่นตานิรภัย เสื้อคลุมปฏิบัติการที่ติดกระดุมครบทุกเม็ด สวมถุงมือเมื่อใช้สารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน สวมผ้าปิดปากเมื่อต้องใช้สารที่มีไอระเหย และทำปฏิบัติการในที่อากาศถ่ายเทหรือในตู้ดูดควัน
     2.ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
     3.ไม่ทำการทดลองเพียงลำพัง
     4.ไม่เล่น
     5.ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการทำอย่างเคร่งครัด
     6.ไม่ปล่อยอุปกรณ์ให้ความร้อนทำงานโดยไม่มีคนดูแล และให้ดับตะเกียงแอลกอฮอล์หรือปิดเครื่องและถอดปลั๊กออกทันทีเมื่อใช้งานเสร็จ
   2)ข้อปฏิบัติในการใช้สารเคมี
      1.อ่านชื่อสารเคมีบนฉลากให้แน่ใจก่อนนำไปใช้
      2.การเคลื่อนย้าย การแบ่ง และการถ่ายเทสารเคมีต้องทำอย่างระมัดระวัง
      3.หันหลอดทดลองออกจากตนเองและผู้อื่นเสมอ
      4.ห้ามชิมหรือสูดดมสารเคมีโดยตรง ให้โบกไอสารเข้าจมูกเล็กน้อยเพื่อดม
      5.การเจือจางกรดให้เทกรดลงน้ำ
      6.ไม่เทสารเคมีที่เหลือกลับเข้าขวด
      7.เมื่อสารเคมีหกให้กวาดหรือเช็ด แล้วทิ้งลงภาชนะสำหรับทิ้งสาร หากหกในปริมาณมากให้แจ้งครูผู้สอน
   
   หลังทำปฏิบัติการ 
      1.ทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ และวางเก็บในบริเวณที่จัดเตรียมไว้
      2.ก่อนออกจากห้องปฏิบัติการให้ถอดอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
  
   3.การกำจัดสารเคมี
      1.สารที่เป็นของเหลวละลายน้ำได้ pHเป็นกลาง ไม่เกิน1ลิตร สามารถเทลงอ่างแล้วเปิดน้ำตามมากๆ
      2.สารเข้มข้นบางชนิด เช่น กรดไฮโดรคลอริก ควรเจือจางน้ำก่อนเทลงอ่าง
      3.สารที่เป็นของแข็ง ปริมาณไม่เกิน 1 กิโลกรัม ใส่ภาชนะที่จัดเตรียมไว้ซึ่งปิดมิดชิด
      4.สารไวไฟ ตัวทำละลายที่ไม่ละลายน้ำ สารประกอบโลหะเป็นพิษ สารที่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ห้ามเทลงอ่างน้ำ ให้ทิ้งในภาชนะที่จัดเตรียมไว้

อุบัติเหตุจากสารเคมี
  การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีสัมผัสร่างกาย
      1.ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่ปนเปื้อนออก
      2.สารที่ละลายน้ำได้ ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำไหลผ่านมากๆ
      3.สารที่ไม่ละลายน้ำ ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสด้วยน้ำสบู่
      4.ปฏิบัติตามข้อกำหนดในเอกสารความปลอดภัย
   การปฐมพยาบาลจากสารเคมีเข้าตา
      ตะแคงศีรษะให้ตาที่โดนสารเคมีอยู่ด้านล่าง เปิดน้ำไหลผ่นมากๆ พยายามลืมตาและกรอกตาในน้ำจนแน่ใจว่าหมดแล้ว แล้วนำส่งแพทย์
   การปฐมพยาบาลเมื่อสูดดมแก๊สพิษ
      1.ต้องรีบออกจากบริเวณที่มีแก๊สพิษ
      2.หากมีผู้ที่หมดสติ ให้พาออกจากบรอเวณนั้น
      3.ปลดเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหายใจสะดวกขึ้น หากหมดสติให้จับนอนคว่ำและตะแคงหน้าไปด้านในด้านหนึ่ง
      4.หากหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจให้นวดหัวใจ(เฉพาะผู้ที่ผ่านการฝึก) แล้วนำส่งแพทย์
   การปฐมพยาบาลเมื่อโดนความร้อน
      แช่น้ำเย็นหรือปิดแผลด้วยผ้าชุบน้ำร้อนจนหายปวดแสบปวดร้อน แล้วทายาขี้ผึ้งสำหรับไฟไหม้และน้ำร้อนลวก หากเกิดแผลใหญ่ให้นำตัวส่งแพทย์

การวัดปริมาณสาร
   ความน่าเชื่อถือของข้อมูล พิจารณาได้จาก ความแม่น คือ ความใกล้เคียงของค่าเฉลี่ยจากการวัดซ้ำเทียบกับค่าจริง และความเที่ยง คือ ความใกล้เคียงกันของค่าที่ได้จากการวัดซ้ำ
   1.อุปกรณ์วัดปริมาตร ได้แก่
      1.บีกเกอร์ มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร
      2.ขวดรูปกรวย(erlenmeyer flask) มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร
ที่มา : https://www.google.com/url?
      3.กระบอกตวง มีขีดบอกปริมาตรในระดับมิลลิลิตร
      อุปกรณ์วัดปริมาตรของของเหลวที่ถ่ายเท
      4.ปิเปตต์ เป็นอุปกรณ์ที่มีความแม่นสูง
      5.บิวเรตต์ มีอุปกรณ์ควบคุมการไหลเรียกว่า ก๊อกปิดเปิด
     6.ขวดกำหนดปริมาตร มีขีดบอกปริมาตรเพียงขีดเดียว

   2.อุปกรณ์วัดมวล
      เครื่องชั่งในห้องปฏิบัติการเคมีโดยทั่วไปมีเครื่องชั่ง 2 แบบ คือ เครื่องชั่งแบบสามคาน และเครื่องชั่งไฟฟ้า

   3.เลขนัยสำคัญ
      1.ตัวเลขที่ไม่ใช่ 0 ถือเป็นเลขนัยสำคัญ
      2.เลข 0 ที่อยู่ระหว่างตัวเลขอื่นถือเป็นเลขนัยสำคัญ
      3.เลข 0 ที่อยู่หน้าตัวเลขอื่นไม่ถือเป็นเลขนัยสำคัญ
      4.เลข 0 ที่อยู่หลังตัวเลขอื่นหลังทศนิยมถือเป็นเลขนัยสำคัญ
      5.เลข 0 ที่อยู่หลังตัวเลขอื่นหน้าทศนิยม อาจนับหรือไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญก็ได้
      6.ตัวเลขที่แม่นตรง เป็นตัวเลขที่ทราบค่าแน่นอนมีเลขนับสำคัญเป็นอนันต์ เช่น ค่าคงที่ ค่าจากการนับ ค่าจากการเทียบหน่วย
      7.ข้อมูลที่มีค่าน้อยมากๆหรือมากมากๆ ให้เขียนในรูปสัญกรวิทยาศาสตร์ โดยตัวเลขสัมประสิทธิ์ทุกตัวนับเป็นเลขนับสำคัญ
   
   การปัดเลข
      1.ถ้าตัวเลขที่ถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าน้อยกว่า 5 ให้ปัดลง
      2.ถ้าตัวเลขที่ถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่ามากกว่า 5 ให้ปัดขึ้น
      3.ถ้าตัวเลขที่ถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 และมีตัวเลขอื่นที่ไม่ใช่ 0 ต่อท้ายให้ปัดขึ้น
      4.ถ้าตัวเลขที่ถัดจากตำแหน่งที่ต้องการมีค่าเท่ากับ 5 
          4.1ถ้าตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ให้ปัดขึ้น
          4.2ถ้าตัวเลขที่อยู่หน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ให้ปัดลง
   
   การบวกและการลบ ให้พิจารณาจำนวนทศนิยมจากจำนวนเลขที่มีตำแหน่งทศนิยมน้อยที่สุด
   การคูณและการหาร ให้พิจารณาจำนวนเลขนัยสำคัญจากเลขที่มีจำนวนเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด
   การคำนวณเกี่ยวหับตัวเลขที่แม่นตรง ไม่ต้องพิจารณาเลขนัยสำคัญ

หน่วยวัด
   1.หน่วยในระบบเอสไอ(SI units)
   2.แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย
                               ปริมาณและหน่วยที่ต้องการ = ปริมาณและหน่วยเริ่มต้น x หน่วยที่ต้องการ
                                                                                                                            หน่วยเริ่มต้น

วิธีการทางวิทยาศาสตร์
   วิธีการทางวิทยาศาสตร์
      1.การสังเกต
      2.การตั้งสมมติฐาน
      3.การตรวจสอบสมมติฐาน
      4.การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล
      5.การสรุปผล
   หัวข้อที่ควรมีในรายงานการทดลอง มีดังนี้
     1.ชื่อการทดลอง 
     2.จุดประสงค์
     3.สมมติฐานและการกำหนดตัวแปร
     4.อุปกรณ์และสารเคมี 
     5.วิธีการทดลอง
     6.ผลการทดลอง
     7.อภิปรายผลและสรุปผลการทดลอง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทีเรกซ์ไม่ใช่สัตว์หัวร้อน เพราะมี “เครื่องปรับอากาศ” ในกะโหลกศีรษะ

ที่มา :  https://www.bbc.com/thai/international-49607617           ทีมนักบรรพชีวินจากมหาวิทยาลัย มิสซูรีและมหาวิทยาลัยฟลอริดา เผยผลการศ...