อะตอมและสมบัติของธาตุ

แบบจำลองอะตอม
   อะตอม คือ หน่วยพื้นฐานของสสารทุกอย่าง หรือแปลได้อีกความหมายหนึ่งว่า แบ่งแยกไม่ได้อีก โดยได้แนวคิดมาจาก นักปราชญ์ที่ชื่อว่า ดิโมคริตุส
แบบจำลองอะตอมของดาลตัน 
   จอห์น ดอลตัน เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับอะตอมและตั้งเป็นทฤษฎี เรียกว่า ทฤษฎีอะตอมของดอลตัน
   มีสาระสำคัญดังนี้
   1.ธาตุประกอบด้วยอนุภาคเล็กๆ เรียกว่า อะตอม ซึ่งแบ่งแยกและทำให้สูญหายไม่ได้(ในปัจจุบันไม่เป็นจริง)
   2.อะตอมไม่สามารถทำให้เกิดใหม่หรือทำให้สูญหายได้(ในปัจจุบันไม่เป็นจริง)
   3.อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันมีมวลเท่ากันและมีสมบัติเหมือนกัน(ในปัจจุบันไม่เป็นจริง)
   4.สารประกอบเกิดจากอะตอมของธาตุมากกว่า 1 ชนิดทำปฏิกิริยาเคมีกันในอัตราส่วนที่เป็นเลขลงตัวน้อยๆ(ในปัจจุบันเป็นจริง)
   5.อะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป อาจรวมตัวกันและเกิดสารประกอบมากกว่า 1 ชนิด(ในปัจจุบันเป็นจริง)

   "อะตอมเป็นทรงกลมตันขนาดเล็กที่สร้างขึ้นใหม่หรือทำลายไม่ได้"
แบบจำลองอะตอมของทอมสัน 
   ทอมสันได้ศึกษาเกี่ยวกับอะตอม โดยใช้หลอดรังสีแคโทดของเซอร์วิลเลียมครูกซ์ เพื่อศึกษาการนำไฟฟ้าของแก๊ส
   ทอมสันได้พบว่ารังสีแคโทดมีขั้วลบ ซึ่งเรียกอนุภาคนั้นว่า อิเล็กตรอน
   สมบัติของรังสีแคโทด
   1.รังสีแคโทดทำให้ฉากเรืองแสงเกิดการเรืองแสง
   2.เมื่อให้รังสีแคโทดอยู่ระหว่างขั้วไฟฟ้าจะเบเข้าหาขั้วบวก
   3.รังสีแคโทดเดินทางเป็นเส้นตรงจากขั้วแคโทดไปยังขั้วแอโนด
   4.มีต่าประจุต่อมวลคงที่
   ออยแกนได้ศึกษาเพิ่มเติม โดยการเพิ่มฉากเรืองแสงไว้อีกข้างหนึ่งของหลอดรังสีแคโทด ทำให้พบ โปรตอน ซึ่งเรียกว่า โปรตอน
   จากการทดลองพบรังสีที่วิ่งเข้าหาขั้วลบเรียกว่ารังสีบวกหรือรังสีคาแนล ซึ่งมีประจุทางไฟฟ้าเป็นบวก แต่มีค่าประจุต่อมวลไม่คงที่ ต่อมาเรียกว่าโปรตอน
   "อะตอมเป็นทรงกลมที่ประกอบไปด้วยอนุภาคอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบและโปรตอนซึ่งมีประจุบวกกระจายอยู่ทั่วในอะตอมอย่างสม่ำเสมอ"
   รอเบิร์ต แอนดรูส์ มิลลิแกน ได้ทำการทดลองหาประจุของอิเล็กตรอน ได้ข้อสรุปว่า
ประจุของอิเล็กตรอน = 1.76×108คูลอมบ์/กรัม
 มวลของอิเล็กตรอน
ประจุของอิเล็กตรอน = 1.60×10-19 คูลอมบ์
มวลของอิเล็กตรอน = 9.09×10-28กรัม

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
   ลอร์ดเออร์เนสท์ รัทเทอร์ฟอร์ด นักวิทยาศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์ และฮัน ไกเกอร์ และมาร์สเดน ได้ทดลองการยองอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบางๆและใช้ฉากเรืองแสงซึ่งฉาบด้วย ZnS โค้งเป็นวงกลมเป็นฉากรับอนุภาคแอลฟาเพื่อตรวจสอบทิศทางการเคลื่อนที่ของอนุภาคแอลฟา
   จากการทดลองทำให้พบว่า อะตอมของทองคำ มีโปรตอนและอิเล็กตรอนกระจายอยู่ ได้ข้อสรุปว่า
          1.การที่ส่วนใหญ่อนุภาคแอลฟาวิ่งผ่านแผ่นทองคำแสดงว่า ภายในอะตอมควรมีที่ว่างจำนวนมาก
          2.การที่อนุภาคแอลฟาบางส่วนหักเหจากแนวเส้นตรงเดิม เพนาะภายในอะตอมมีอนุภาคบวก
   "อะตอมประกอบด้วยนิวเคลียสที่โปรตอนรวมกันอยู่ตรงกลาง นิวเคลียสมีขนาดเล็กแต่ทีมวลมากและมีประจุบวก ส่วนอิเล็กตรอนซึ่งมีประจุลบและมีมวลน้อยวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียส
   Chadwick ได้ศึกษาการยิงอนุภาคแอลฟาไปยังอนุภาคต่างๆ พบว่า ภายในนิวเคลียสมีอนุภาคชนิหนึ่งที่มีมวลใกล้เคียงกับโปรตอน และเป็นกลางทางไฟฟ้า เรียกว่า นิวตรอน

   แบบจำลองอะตอมแบบใหม่เปลี่ยนเป็น อะตอมที่ประกอบไปด้วยโปรตอนและนิวตรอนอยู่ในนิวเคลียส และมีอิเล็กตรอนวิ่งอยู่รอบๆ
   อนุภาคมูลฐานของอะตอม
 
   สัญลักษณ์นิวเคลียร์
          เลขมวล หมายถึง จำนวนโปรตอนรวมกับจำนวนนิวตรอน
          เลขอะตอม หมายถึง จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
   ไออน หมายถึง อนุภาคที่มีประจุทางไฟฟ้า มี 2 ชนิด
          1.ไออนบวก คือ อนุภาคที่มีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอน
          2.ไออนลบ คือ อนุภาคที่มีโปรตอนน้อยกว่าอิเล็กตรอน
   ไอโซโทป หมายถึง อะตอมของธาตุชนิดเดียวกันที่มีเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีเลขมวลต่างกัน
   ไอโซโทน หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีนิวตรอนเท่ากัน
   ไอโซบาร์ หมายถึง อะตอมของธาตุต่างชนิดกันที่มีเลขมวลเท่ากัน แต่เลขอะตอมต่างกัน
   ไอโซอิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง ธาตุหรือไออนที่มีจำนวนอิเล็กตรอนเท่ากัน

แบบจำลองอะตอมของนีลโบร์
   โบร์ได้ศึกษาแบบจำลองอะตอมขึ้นมาโดยนำแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดมาแก้ไข เขาศึกษาสเปกตรัมการเปล่งแสงของธาตุ โดยบรรจุแก๊สไฮโดรเจนในหลอดปล่อยประจุ จากนั้นให้พลังงานเข้าไป
ผลการทดลอง พบว่าอิเล็กตรอนเคลื่อนจากขั้วบวกไปขั้วลบชนกับแก๊สไฮโดรเจน จากนั้นเปล่งแสงออกมาผ่านปริซึมทำให้เราเห็นเป็นเส้นสเปกตรัมสีต่างๆ ตกบนฉากรับภาพ ซึ่งเกิดจากอิเล็กตรอนเปลี่ยนระดับพลังงานจากวงโคจรสูงไปสู่วงโคจรต่ำ พร้อมทั้งคายพลังงานในรูปแสงสีต่างๆ
   มักซ์พลัง
          แสงสีม่วงมีความยาวคลื่นน้อย มีพลังงานมาก แสงสีแดงมีความยาวคลื่นมาก แต่มีพลังงานน้อย
   สรุปแบบจำลองอะตอมของโบร์
   1. อิเล็กตรอนจะอยู่กันเป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นเรียกว่า ระดับพลังงาน
   2. อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานวงนอกสุดเรียกว่า เวเลนซ์อิเล็กตรอน (Valent electron)จะเป็นอิเล็กตรอนที่เกิดปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้
   3. อิเล็กตรอนที่อยู่ในระดับพลังงานวงในอยู่ใกล้นิวเคลียส จะเสถียรมากเพราะประจุบวกจากนิวเคลียสดึงดูดไว้อย่างดี ส่วน
อิเล็กตรอนระดับพลังงานวงนอจะไม่เสถียรเพราะนิวเคลียสส่งแรงไปดึงดูดได้น้อยมาก
   4. ระดับการพลังงานวงในจะอยู่ห่างกันมาก ส่วนระดับพลังงานวงนอกจะอยู่ชิดกันมาก
   5. การเปลี่ยนระดับพลังงานของอิเล็กตรอน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนในระดับถัดกัน อาจเปลี่ยนข้ามระดับพลังงานกันก็ได้
   แต่ละระดับพลังงานจะมีอิเล็กตรอนบรรจุได้ 2n2 ตัว

แบบจำลองอะตอมของกลุ่มหมอก
   ได้มีการใช้ทฤษฎีควอนตัมซึ่งสามารถอธิบายการจัดเรียงอิเล็กตรอนได้ว่า อิเล็กตรอนเรียงตัวกันเป็นออบิทัล
   1. อิเล็กตรอนไม่ได้เคลื่อนที่เป็นวงกลม แต่เคลื่อนที่ไปรอบๆนิวเคลียสเป็นรูปทรงต่างๆตามระดับพลังงาน
   2. ไม่สามารถบอกตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนไ้ด้ เนื่องจากอิเล็กตรอนมีขนาดเล็กมากและเคลื่อนที่รวดเร็วตลอดเวลาไปทั่วทั้งอะตอม
   3. อะตอมประกอบด้วยกลุ่มหมอกของอิเล็กตรอนรอบนิวเคลียส บริเวณที่มีหมอกทึบแสดงว่ามีโอกาสพบอิเล็กตรอนได้มากกว่าบริเวณที่มีหมอกจาง ดังรูปที่แสดงไว้

การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
   การจัดเรียงในระดับพลังงานหลัก จัดเรียงได้ไม่เกิน 2n2 ตัว
   การจัดเรียงในระดับพลังงานย่อย
     1. s-orbital มี 1 ออบิทัล มีจำนวนอิเล็กตรอนทั้งหมด 2 ตัว
     2. p-orbital มี 3 ออบิทัล มีจำนวนอิเล็กตรอนทั้งหมด 6 ตัว
     3. d-orbital มี 5 ออบิทัล มีจำนวนอิเล็กตรอนทั้งหมด 10 ตัว
     4. f-orbital มี 7 ออบิทัล มีจำนวนอิเล็กตรอนทั้งหมด 14 ตัว
   การจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบออร์บิทัล
   การจัดเรียงอิเล็กตรอนแบบระดับพลังงานย่อยในรูปแก๊สเฉื่อย
   ข้อสังเกตที่ได้จากการใช้จัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม
   1.เลขอะตอมคู่จะอยู่ในหมู่คู่ เลขอะตอมคี่จะเป็นธาตุในหมู่คี่
   2.ธาตุหมู่ IA และ IIA ตั้งแต่คาบ 3 ขึ้นไป จะมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา 1 ชั้นเป็น 8 เสมอ
   3.ธาตุหมู่ IIIA ถึง VIIIA   ตั้งแต่หมู่ที่ IIIA คาบ 4 เป็นต้นไป    จะมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา 1 ชั้นเป็น 18 เสมอ 
   4.ถ้าธาตุนั้นมีการจัดเรียงอิเล็กตรอนไม่เป็นไปตามข้อ 2 และ 3 คือมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดจากวงนอกสุดเข้ามา 1 ชั้น มีค่าตั้งแต่ 9 – 18 แต่วงนอกสุดมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 1 หรือ 2 นักเรียนก็ทำนายได้ทันทีว่าเป็นธาตุแทรนซิชัน
      หมายเหตุ ธาตุแทรนซิชันที่มีเลขอะตอมตั้งแต่ 21 – 30 จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 2 ยกเว้น Cu กับ Cr จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 1

ตารางธาตุ
   ในปี พ.ศ.2360 (ค.ศ. 1817) โยฮันน์ เดอเบอไรเนอร์เป็นนักเคมีคนแรกที่พยายามจัดธาตุเป็นกลุ่มๆ ละ ธาตุตามสมบัติที่คล้ายคลึงกันเรียกว่า ชุดสาม โดยพบว่าธาตุกลางจะมีมวลอะตอม เป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของอีกสองธาตุที่เหลือ ตัวอย่างธาตุชุดสามของเดอเบอไรเนอร์ เช่น Na เป็นธาตุกลางระหว่าง Li  กับ K  มีมวลอะตอม  23  ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของธาตุ Li ซึ่งมีมวลอะตอม กับธาตุ ซึ่งมีมวลอะตอม  39  แต่เมื่อนำหลักของชุดสามไปใช้กับธาตุกลุ่มอื่นที่มีสมบัติคล้ายกัน พบว่าค่ามวลอะตอมของ ธาตุกลางไม่เท่ากับค่าเฉลี่ยของมวลอะตอมของสองธาตุที่เหลือ หลักชุดสามของเดอเบอไรเนอร์จึงไม่เป็นที่ยอมรับ 
   ในเวลาต่อมาในปี พ.ศ. 2407  จอห์น นิวแลนด์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้เสนอกฎในการจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ว่า ถ้าเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากพบว่าธาตุที่  8  จะมีสมบัติเหมือนกับธาตุที่  1  เสมอ (ไม่รวมธาตุไฮโดรเจนและแก๊สเฉื่อย) เช่น เริ่มต้นเรียงโดยใช้ธาตุ Li เป็นธาตุที่  1  ธาตุที่  8  จะเป็น Na ซึ่งมีสมบัติคล้ายธาตุ Li  ดังตัวอย่างการจัดต่อไปนี้
   ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเพราะเหตุใดมวลอะตอมจึงเกี่ยวข้องกับสมบัติที่ คล้ายคลึงกันของธาตุ ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับ
   ในเวลาต่อมายูลิอุสโลทาร์ ไมเออร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันและดิมิทรี อิวา-โนวิช เมนเดเลเอฟ นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้ศึกษารายละเอียดของธาตุต่างๆ มากขึ้นทำให้มีข้อสังเกตเช่นเดียวกันว่า ถ้าเรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมากจะพบว่าธาตุมีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วงๆ การที่ธาตุต่างๆ มีสมบัติคล้ายกันเป็นช่วงเช่นนี้เมนเดเลเอฟตั้งเป็นกฎเรียกว่า กฎพิริออดิก และได้เสนอความคิดนี้ในปี พ.ศ. 2412  ก่อนที่ไมเออร์จะเผยแพร่ผลงานของเขาหนึ่งปีเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่เมนเด เลเอฟ จึงเรียกตารางนี้ว่า ตารางพิริออดิกของเมนเดเลเอฟ ในปีต่อมาเมนเดเลเอฟได้ปรับปรุงตารางธาตุใหม่
   เฮนรี โมสลีย์  นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้เสนอให้จัดธาตุเรียงตามเลขอะตอม เนื่องจากสมบัติต่างๆ ของธาตุมีความสัมพันธ์กับประจุบวกในนิวเคลียสหรือเลขอะตอมมากกว่ามวลอะตอม ตารางธาตุในปัจจุบันจึงได้จัดเรียงธาตุตามเลขอะตอมจากน้อยไปมากซึ่งสอดคล้อง กับกฎพิริออดิกที่ได้กล่าวมาแล้ว
ตารางธาตุที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้ปรับปรุงมาจากตารางธาตุของเมนเดเลเอฟ แต่เรียงธาตุตามลำดับเลขอะตอมแทนการเรียงตามมวลอะตอม ดังรูป
ตารางธาตุที่ใช้อยู่ในปัจจุบันแบ่งธาตุในแนวตั้งออกเป็น 18 แถว โดยเรียกแถวในแนวตั้งว่า หมู่ ธาตุในแนวตั้งยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กับ กลุ่ม มี หมู่ คือ IA ถึง VIIIA หมู่ IA มีชื่อเรียกว่า โลหะแอลคาไล หมู่ IIA เรียกว่า โลหะแอลคาไลน์เอิร์ทหมู่ VIIA เรียกว่า หมู่ธาตุแฮโลเจน และหมู่ VIIA เรียกว่า แก๊สเฉื่อยหรือแก๊สมีตระกูล กลุ่ม มี หมู่เช่นเดียวกันคือ IB ถึง VIIIB แต่ใน VIIIB  จะมี  3  แถวธาตุกลุ่ม B  ทั้งหมดเรียกว่ากลุ่ม ธาตุแทรนซิชัน ธาตุที่อยู่ในแนวนอนมี แถว แต่ละแถวจัดเรียงธาตุตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ และเรียกแถวในแนวนอนว่า คาบจำนวนธาตุในแต่ละคาบจะเป็นดังนี้ คาบที่  1  มี  2  ธาตุ  คาบที่  2  และ  3  มีคาบละ ธาตุ  คาบที่  4 และ มีคาบละ 18 ธาตุ คาบที่ แบ่งเป็น  2 กลุ่ม กลุ่มแรกมี  18  ธาตุ คือ Cs ถึง Rn  กลุ่มที่สองมี  14  ธาตุ  คือ Ce  ถึง Lu และเรียกกลุ่มนี้ว่า  กลุ่มธาตุ แลนทาไนด์ คาบ ที่  7  แบ่งเป็น  2  กลุ่ม กลุ่มแรกเริ่มจาก Fr เป็นต้นไปและมีการค้นพบเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ส่วนกลุ่มหลังมี 14 ธาตุคือ Th ถึง Lr ซึ่งมีชื่อเรียกว่า กลุ่มธาตุ แอกทิไนด์

จากการที่นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาทดลองจนค้นพบธาตุเพิ่มขึ้นอีกหลายธาตุแต่ ยังไม่มีการกำหนดสัญลักษณ์ที่แน่นอน บางครั้งธาตุชนิดเดียวกันถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์หลายคนจึงทำให้มีชื่อ เรียกแตกต่างกันองค์การนานาชาติทางเคมี (International Union of Pure and Applied Chemistry, IUPAC) ได้ตกลงให้เรียกชื่อธาตุที่มีเลขอะตอมตั้งแต่  100  ขึ้นไปตามระบบตัวเลขเป็นภาษาละตินและลงท้ายเสียงของชื่อธาตุเป็น -ium เป็นชื่อเรียกสำหรับธาตุที่ยังไม่มีชื่อที่ยอมรับเป็นสากล
จำนวนนับในภาษาละตินเป็นดังนี้
0        1       2        3         4           5          6           7            8           9
nil     un     bi       tri     quad      pent      hex       sept        oct        enn
นิล    อูน    ไบ    ไตร    ควอด    เพนต์    เฮกซ์    เซปต์    ออกต์    เอนน์
สำหรับการเขียนสัญลักษณ์ของธาตุ ให้ใช้อักษรตัวแรกของจำนวนนับแต่ละตัวมาเขียนเรียงกัน

สมบัติของธาตุตามหมู่และตามคาบ

   ขนาดอะตอม จากแบบจำลองอะตอมแบบกลุ่มหมอก อะตอมมีขอบเขตที่ไม่แน่นอน ระยะระหว่างนิวเคลียสถึงผิวอะตอมมีค่าไม่คงที่ ทำให้หาขนาดของอะตอมที่แท้จริงไม่ได้ จากแบบจำลองของอะตอมตามทฤษฎีของโบร์ อิเล็กตรอนในไฮโดรเจนอะตอมอาจมีพลังงานได้หลายค่า ขนาดอะตอมของไฮโดรเจนจึงขึ้นอยู่กับว่าอิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานใด ถ้าอยู่ในระดับพลังงานสูง จะอยู่ห่างจากนิวเคลียสมาก ขนาดอะตอมจะใหญ่ และถ้าอยู่ในระดับพลังงานต่ำ จะอยู่ใกล้นิวเคลียส ขนาดอะตอมจะเล็ก ดังนั้นจึงทำให้หาขนาดของอะตอมที่แท้จริงไม่ได้
แนวโน้มขนาดอะตอมตามหมู่และตามคาบ
เมื่อพิจารณาแนวโน้มของขนาดอะตอม มีแนวโน้มดังนี้
1.  เมื่อพิจารณาตามคาบ ธาตุในคาบเดียวกันมีขนาดอะตอมลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น เช่น ในคาบที่ 3 ขนาดอะตอม Na > Mg > Al > Si > P > S > Cl เป็นต้น ทั้งนี้เพราะธาตุในคาบเดียวกันมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนอยู่ในระดับพลังงานเดียวกันแต่มีจำนวนโปตอนในนิวเคลียสต่างกัน ธาตุที่มีโปรตอนมากกว่าจะดึงดูดเวเลนซ์อิเล็กตรอนได้แรงกว่าจึงทำให้ขนาดอะตอมเล็กกว่า นั่นคือขนาดอะตอมจะลดลงจากซ้ายไปขวา
2.  เมื่อพิจารณาตามหมู่ ธาตุในหมู่เดียวกันมีขนาดอะตอมเพิ่มขึ้นตามเลขอะตอม เช่น ในหมู่ IA ขนาดอะตอม Li < Na < K < Rb < Cs <Rbทั้งนี้เพราะธาตุในหมู่เดียวกันแม้จำนวนโปรตอนในนิวเคลียสจะเพิ่มขึ้น แต่แรงดึงดูดเวเลนซ์อิเล็กตรอนมีน้อยเนื่องจากจำนวนระดับพลังงานที่มีอิเล็กตรอนอยู่เพิ่มขึ้น จึงเป็นเสมือนฉากกั้นแรงดึงดูดระหว่างโปรตอนในนิวเคลียสกับ เวเลนซ์อิเล็กตรอน มีผลทำให้ขนาดอะตอมใหญ่ขึ้นตามเลขอะตอม แสดงว่าในกรณีนี้การเพิ่มระดับพลังงานมีผลมากกว่าการเพิ่มจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส
สำหรับธาตุในคาบที่ 4 คาบที่ 5 และคาบที่ 6 พบว่าขนาดอะตอมไม่เป็นไปตามแนวโน้มที่ต่อเนื่องกัน
   พลังงานไอออไนเซชัน (IE)
   เมื่อให้พลังงานแก่อะตอมของธาตุในสถานะของ เหลวหรือของแข็งในปริมาณที่มากพอ จะทำให้อะตอมเปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สได้และถ้าให้พลังงานต่อไปอีกจนสูงเพียงพอ ก็จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดออกจากอะตอมกลายเป็นไอออน พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่ทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากอะตอมในสถานะแก๊สเรียกว่า พลังงานไอออไนเซชัน
   อิเล็กโทรเนกาติวิตี (EN) เมื่ออะตอมของธาตุต่างชนิดรวมตัวเป็นโมเลกุลโดยใช้อิเล็กตรอนคู่ร่วมกัน นิวเคลียสของอะตอมทั้งสองจะดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันด้วยแรงที่ต่าง กัน ทำให้อะตอมที่สามารถดึงดูดอิเล็กตรอนได้ดีกว่าเกิดสภาพอำนาจไฟฟ้าค่อนข้าง เป็นลบ ส่วนอะตอมที่ดึงดูดอิเล็กตรอนได้น้อยกว่าจะเกิดสภาพอำนาจไฟฟ้าค่อนข้างเป็น บวก ความสามารถของอะตอมในการดึงดูดอิเล็กตรอนในโมเลกุลของสารเรียกว่า อิเล็กโทรเนกาติวิตี เขียนย่อเป็น EN
   สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (EAคือ ความสามารถในการรับอิเล็กตรอน ซึ่งเป็นพลังงานที่เปลี่ยนแปลงเมื่ออะตอมในสถานะแก๊สได้รับอิเล็กตรอน อิเล็กตรอน ซึ่งแนวโน้มจะเหมือนค่า EA

เลขออกซิเดชัน (Oxidation number)

   หมายถึงจำนวนประจุไฟฟ้าหรือประจุไฟฟ้าสมมติของไอออนหรืออะตอมของธาตุ

   เกณฑ์การกำหนดค่าเลขออกซิเดชัน มีเกณฑ์ดังนี้
   1.ธาตุอิสระทุกชนิดทั้งที่อยู่ในรูปอะตอมหรือโมเลกุล มีเลขออกซิเดชันเท่ากับศูนย์ เช่น Fe , Zn , H2 , N2 , O2 , P4 , S8 ต่างมีเลขออกซิเดชันเท่ากับศูนย์
   2. ออกซิเจนในสารประกอบทั่วไปมีเลขออกซิเดชัน -2 ยกเว้นในสารประกอบเปอร์ออกไซด์ เช่น Na2O2 , H2O2 , BaO2 ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน -1 ในสารประกอบซูเปอร์ออกไซด์ เช่น KO2 ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน -1/2 ในสารประกอบ OF2 ออกซิเจนมีเลขออกซิเดชัน +2
   3. ไฮโดรเจนในสารประกอบทั่วไปมีเลขออกซิเดชัน +ยกเว้นในสารประกอบโลหะไฮไดรด์ เช่น NaH ไฮโดรเจนมีเลขออกซิเดชัน -1
   4. ไอออนของธาตุมีเลขออกซิเดชันเท่ากับประจุของไอออนนั้น เช่น H+ เลขออกซิเดชันเท่ากับ +1 , Ca2+ เลขออกซิเดชันเท่ากับ +2 , Cl- เลขออกซิเดชันเท่ากับ -1 เป็นต้น
   5. ไอออนที่ประกอบด้วยอะตอมมากกว่า ชนิด ผลรวมของเลขออกซิเดชันของทุกอะตอมเท่ากับประจุของไอออนนั้น เช่น Cr2O7 2- มีประจุ -2 ผลรวมของเลขออกซิเดชันของ Cr2O7 2- จึงเท่ากับ -2
   6. ในสารประกอบใด  ผลรวมของเลขออกซิเดชันของทุกอะตอมเท่ากับศูนย์ เช่น CaO เลขออกซิเดชันของแคลเซียมเท่ากับ +ของออกซิเจนเท่ากับ -2 ซึ่งรวมกันจะเท่ากับศูนย์







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ทีเรกซ์ไม่ใช่สัตว์หัวร้อน เพราะมี “เครื่องปรับอากาศ” ในกะโหลกศีรษะ

ที่มา :  https://www.bbc.com/thai/international-49607617           ทีมนักบรรพชีวินจากมหาวิทยาลัย มิสซูรีและมหาวิทยาลัยฟลอริดา เผยผลการศ...